วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


ลีลาศ





ประวัติลีลาศในประเทศไทยและต่างประเทศ

         การลีลาศมีประวัติอันยาวนานกว่าร้อยปีที่ผ่านมา และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในยุคปัจจุบันนี้ การลีลาศ ไม่เคยที่จะหยุดนิ่ง มันพัฒนาในตัวของมันเองมาโดยตลอด   ลีลาศเป็นศิลปะ (Art) กระจุกกระจิก เป็นชิ้นเล็กน้อยเอามารวมกันเป็นกลุ่มก้อน เรียกว่า COMPLEX ART จึงมีการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าท่านจะ ลีลาศในรูปแบบศิลป์ หรือรูปแบบ ของการออกกำลังเพื่อสุขภาพหรือเพื่อสังคม หรือในรูปแบบกีฬาฯลฯ ก็ตาม    รากฐานการกำเนิดมาจากที่เดียวกัน คือ “เสียงดนตรี” เมื่อมีเสียงดนตรีดังขึ้น การลีลาศก็เริ่มเกิดพร้อมกัน กล่าวได้ว่าเสียงดนตรี เป็น บิดามารดา ของการลีลาศโดยแท้

                ในราวๆ ต้นศตวรรษ ที่ 19 การลีลาศได้เกิดในทวีป ยุโรป และบางจังหวะได้เกิดขึ้นทางด้านลาตินอเมริกัน ในทวีปแอฟริกา โดยการเต้นเป็นแบบพื้นเมือง ซึ่งเน้นหนักไปทางพักผ่อนหรือ Relax ร่างกาย ผ่อนคลาย ไม่กังวลในเรื่องใดๆ เพิ่มความสนุกสนาน    ลืมความเหนื่อยยากที่ตากตำจากการทำงานมาทั้งวัน ยกตัวอย่าง เช่น

                จังหวะ แซมบ้า คนงานจากทวีปแอฟริกา ได้เข้ามาทำงานในไร่อ้อย ประเทศบราซิล เมื่อเลิกงานจึงร้องรำทำเพลงและเต้น จนกระทั่งจังหวะแซมบ้า เป็นจังหวะประจำชาติของประเทศบราซิล

                จังหวะ แทงโก้ เกิดจากบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกของอาร์เจนติน่า นักขี่ม้า เลี้ยงวัว ได้ร้องรำทำเพลงและเต้น             โดยมีลักษณะของดนตรี กระตุก กระแทก กระทั้น หยุดโดยเฉียบพลัน (STACATO EFFECT) และจนกระทั่ง ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1จังหวะแทงโก้ ได้ถูกห้ามเต้น (แบน) ในอาร์เจนติน่า  และแล้วจังหวะแทงโก้ได้กลับมาเกิดใหม่ในฝรั่งเศส ซึ่ง ได้รับความนิยมอย่างสูง แพร่หลายไปทั่วในทวีปยุโรป เรียกว่า ปารีส สไตล์ ไม่มีใครสามารถจะหยุดยั้ง  ศิลปะแขนงนี้ได้ ดังนั้นการลีลาศจึงได้ขยายไปทั่วโลก อเมริกา ยุโรป เอเชีย และในที่สุดประเทศไทยก็ได้รับอิทธิพล  เช่นกัน พ่อค้าที่ค้าขายในระหว่างประเทศได้นำการลีลาศสู่ประเทศไทย ตลอดจนการเปิด สัมพันธ์ไมตรีระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ จากขุนนางสู่พ่อค้า และสู่ประชาชนในที่สุด ไม่ว่าชนชาติไดก็ตามในทวีปยุโรป อเมริกา หรือจีน ตลอดจนประเทศไทย ประเพณีการไม่จับมือถือแขนถูกเนื้อต้องตัวของสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี          ในที่สาธารณะนั้นสำคัญอย่างยิ่ง ในปี ค.ศ. 1920     สังคมในทวีปยุโรป ให้การยอมรับให้สุภาพบุรุษจับมือถือแขนสุภาพสตรี (HOLD) ในที่สาธารณะได้   นานกว่า  86 ปีที่แล้ว เฉพาะที่ประเทศไทย สังคมของเรายังไม่ยอมรับที่จะให้สุภาพบุรุษจับมือถือแขนสุภาพสตรี   ในที่สาธารณะได้ จึงทำให้การลีลาศในประเทศไทยในเวลานั้น ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร จะมีอยู่ก็เฉพาะแต่คนกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น

              และในเวลาต่อมาเชื้อพระวงศ์ชนชั้นสูงตลอดจน นักธุรกิจ และ นักเรียนทุนที่ได้ไปศึกษา ณ ทวีปยุโรป แล้วมีโอกาสได้เรียนลีลาศมาด้วย จึงได้นำการลีลาศเข้ามาใช้เต้นในประเทศไทย จนในที่สุดก็ได้รับการแพร่หลาย และสังคมไทยก็เริ่มยอมรับการลีลาศมากขึ้น ต่อมาจนกระทั่ง  มีคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งได้เรียนลีลาศมาจากต่างประเทศ เช่น หลวงสุขุม นัยประดิษฐ์ หลวงประกอบ นิติสาร    นายหยิบ ณ นคร ได้รับความนิยมอย่างสูง และมีสมาชิกเพิ่มขึ้น ต่อมาจึงได้รวบรวม คนชนชั้นสูงจัดตั้งสมาคม  เต้นรำขึ้น เพื่อพบปะสังสรรค์ลีลาศ และต่อมาเห็นคำว่า ”เต้นรำ” ไม่เหมาะสมและ ไม่สุภาพ ถ้าพูดกลับกันจึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น  สมาคมลีลาศแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสมาคมลีลาศแห่งแรกของประเทศไทย โดยมีหลวงประกอบ นิติสาร เป็น นายกสมาคมฯ คนแรกเมื่อปี    พ.ศ. 2499 โดยยุคสมัยนั้น สถานที่ลีลาศมีไม่กี่แห่ง เช่น 7 ชั้น-9 ชั้น ซึ่งอยู่ใน ถนน เยาวราช ภัตตาคาร ห้อเทียนเหลา สถานที่จัดงาน เช่น สวนลุมพินีสถาน วังสราญรมย์ งานวชิราวุธธานุสรณ์เป็นสถานที่ใช้จัดแข่งขันลีลาศ ประจำปีของสมาคมลีลาศฯ ชิงถ้วยพระราชทาน พระนางรำไพพรรณี ตลอดจนการลีลาศในงานกาชาด(สวนอัมพรเล็ก) งานฉลองรัฐธรรมนูญ (เกาะลอยสวนลุมพินี) 
งานทักษิณบอล ของสมาคมชาวปักษ์ใต้ และงานชาวเหนือ   โดยในยุคสมัยนั้น เสื้อผ้าของสุภาพบุรุษจะนุ่งกางเกง แพร เสื้อผ้าไหม   สีไข่ไก่ เสื้อคอปิดกระดุม 5 เม็ด สวมรองเท้าแคทชู และในเวลาต่อมานั้น ใน พ.ศ. 2506 สมาคมครูลีลาศแห่งประเทศไทยได้ก่อกำเนิดขึ้นจึงจัดเป็นสมาคมลีลาศแห่งที่ 2 ของประเทศไทย โดยมีนายหยิบ ณ นคร เป็นนายกสมาคมฯ คนแรก




         
ประโยชน์ในการเต้นลีลาศ






      1. ช่วยพัฒนาทางด้านร่างกาย การลีลาศเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายทุกส่วนไปตามจังหวะเสียงเพลง
 ไม่ว่าจะเป็นการใช้ศีรษะ ลำตัว แขนและขา อย่างต่อเนื่อง คนที่เลือกกีฬาลีลาศเป็นกิจกรรมสำหรับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จึงเท่ากับเป็นการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ อาหารลดน้ำหนัก ทำให้มีรูปร่างที่ได้สัดส่วนสวยงาม ระบบการไหลเวียนโลหิตและระบบการหายใจทำงานได้ดี ร่างกายมีสมรรถภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ สามารถสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต่อโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      2. ช่วยพัฒนาทางด้านอารมณ์และจิตใจ การลีลาศเป็นกิจกรรมออกกำลังกายที่ใช้จังหวะเสียงเพลงเป็นสื่อ ผู้เล่นจึงเกิดความรู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลิน มีอารมณ์แจ่มใสและไม่เครียด ผู้ที่ฝึกลีลาศในเวลาว่างนอกจากจะรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แล้ว ยังช่วยให้ตนเองมีโอกาสแสดงออกถึงความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติของมนุษย์ ในอันที่จะแสดงความหวังและความรู้สึกตามจังหวะเสียงเพลง จึงเป็นการช่วยส่งเสริมสุขภาพทางด้านจิตใจและผ่อนคลายอารมณ์ ความตึงเครียดจากงานในหน้าที่ประจำ หรือปัญหาของครอบครัวได้

      3. ช่วยพัฒนาทางด้านบุคลิกภาพ ทักษะสำคัญของการลีลาศ คือการยืน การเดิน และการสร้างความสมดุลของร่างกายในขณะยืนและเดิน คนที่ฝึกตามรูปแบบของการลีลาศอย่างถูกต้อง จึงมีลักษณะท่าทางในการยืนและการเดินที่สง่างามเป็นที่ประทับใจแก่ผู้ที่พบเห็น เป็นคนที่มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง ช่วยให้กล้าแสดงออกในกิจกรรมต่างๆ ที่ดีงาม จะเห็นได้ว่าการเต้นลีลาศช่วยทั้งในเรื่องของรูปร่าง ทรวดทรง บุคลิกภาพ อารมณ์และจิตใจ ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคมากขึ้น ช่วยชะลอความแก่ ผิวหนังไม่หย่อนยาน ลดน้ำหนัก ลดไขมันส่วนเกินได้ เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง มีระเบียบวินัย ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ยังช่วยให้มีสังคม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และช่วยให้สมองทำงานได้อย่างฉับไวมากขึ้น อาหารลดน้ำหนัก

         การออกกำลังกายแบบแอโรบิก หากทำเป็นประจำสม่ำเสมอแล้วมีประโยชน์ต่อร่างกาย คือ ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตมีประสิทธิภาพในการขนถ่ายออกซิเจนดีขึ้น ช่วยให้การสูบฉีดโลหิตของหัวใจดีขึ้น คือ สามารถเพิ่มปริมาณในการสูบฉีดแต่ละครั้ง (Stroke Volume) มากขึ้น มีปริมาณโลหิตไหลเวียนสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกายได้มากขึ้น

         นอกจากนั้น การออกกำลังกายยังสามารถช่วยป้องกันความอ้วน ลดไขมันในเลือด ลดความเครียด ลดความดันโลหิต ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ลดการทำงานของหัวใจในภาวะปกติ ทำให้บุคลิกภาพดี และช่วยป้องกันความเสื่อมของร่างกายตามธรรมชาติได้ สาว ๆ ที่อยากมีรูปร่างสวยงาม การเต้นลีลาศก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการออกกำลังกายแบบแอโรบิก










มารยาททางสังคมในการลีลาศ ที่ควรทราบมีดังนี้:






การเตรียมตัว
 
1. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด กำจัดกลิ่นต่าง ๆ ที่น่ารังเกียจ เช่น กลิ่นปาก กลิ่นตัว เป็นต้น

2. แต่งกายให้สะอาด ถูกต้อง และเหมาะสมตามกาละเทศะ ซึ่งจะเป็นหารสร้างความมั่นใจในบุคลิกภาพของตนเอง

3. ควรใช้เครื่องสำอางที่มีกลิ่นไม่รุนแรงจนสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่อยู่ใกล้ชิด หรือกับคู่ลีลาศของตน

4. มีการเตรียมตัวล่วงหน้าโดยการฝึกซ้อมลีลาศในจังหวะต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจในการลีลาศ

5. สุภาพบุรุษจะต้องให้เกียรติสุภาพสตรีและบุคคลอื่นในทุกสถานการณ์ และจะต้องไปรับสุภาพสตรีที่ตนเชิญไปร่วมงาน

6. ไปถึงบริเวณงานให้ตรงตามเวลาที่ระบุได้ในบัตรเชิญ

ก่อนออกลีลาศ
 
1. พยายามทำตัวให้เป็นกันเอง และสร้างความสนิทสนมคุ้นเคยกับเพื่อนใหม่ แนะนำเพื่อนหญิงของตนให้บุคคลอื่นรู้จัก 

2. ไม่ดื่มสุรามากจนครองสติไม่อยู่ ถ้ารู้สึกตัวว่าเมามาก ไม่ควรเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศ

3. ไม่ควรเชิญสุภาพสตรีที่ไม่รู้จักออกลีลาศ ยกเว้นจะได้รับการแนะนำให้รู้จักกันเสียก่อน

4. สุภาพบุรุษควรแน่ใจว่าสุภาพสตรีที่ตนเชิญออกลีลาศ สามารถลีลาศจังหวะนั้น ๆ ได้หากไม่แน่ใจควรสอบถามก่อน

5. สุภาพบุรุษควรเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศด้วยกริยาที่สุภาพ ถ้าถูกปฏิเสธก็ไม่ควรเซ้าซี้จนเป็นที่น่ารำคาญ

6. สุภาพสตรี ไม่ควรปฏิเสธเมื่อมีสุภาพบุรุษมาขอลีลาศด้วย หากจำเป็นจะต้องปฏิเสธด้วยเหตุผลใดก็ตาม จะต้องปฏิเสธด้วยถ้อยคำที่สุภาพนุ่มนวล และไม่ควรลีลาศกับสุภาพบุรุษอื่นในจังหวะที่ตนได้ปฏิเสธไปแล้ว

7. ถ้าในกลุ่มสุภาพสตรีที่นั่งอยู่มีบุคคลอื่นหรือสุภาพบุรุษอื่นนั่งอยู่ด้วย จะต้องกล่าวคำขออนุญาตจากบุคคลเหล่านั้นก่อนที่จะเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศ

8. ก่อนออกลีลาศควรฟังจังหวะให้ออกเสียก่อน และแน่ใจว่าสามารถลีลาศในจังหวะนั้นได้

9. ไม่ควรออกลีลาศกับคู่เพศเดียวกัน


ขณะลีลาศ
 
1. ขณะที่พาสุภาพตรีไปที่ฟลอร์ลีลาศ สุภาพบุรุษควรเดินนำหน้า หรือเดินเคียงคู่กันไป เพื่อให้ความสะดวกแก่สุภาพสตรี และเมื่อไปถึงฟลอร์ลีลาศ ควรให้เกียรติสุภาพสตรีเดินขึ้นไปบนฟลอร์ลีลาศก่อน

2. ในการจับคู่ สุภาพบุรุษต้องกระทำด้วยความนุ่มนวลสุภาพ และถูกต้องตามแบบแผนของการลีลาศ ไม่ควรจับคู่ในลักษณะที่รัดแน่นหรือยืน ห่างจนเกินไป การแสดงออกที่น่าเกลียดบางอย่างพึงละเว้น เช่น การเอารัดเอาเปรียบคู่ลีลาศ เป็นต้น

3. จะต้องลีลาศไปตามจังหวะ แบบแผน และทิศทางที่ถูกต้องไม่ย้อนแนวลีลาศ เพราะจะเป็นอุปสรรคกีดขวางการลีลาศของคู่อื่น ถ้ามีการชนกันเกิดขึ้นในขณะลีลาศ จะต้องกล่าวคำขอโทษหรือขออภัยด้วยทุกครั้ง

4. ไม่สูบบุหรี่ เคี้ยวหมากฝรั่ง หรือของขบเคี้ยวใด ๆ ในขณะลีลาศ

5. ให้ความสนใจกับคู่ลีลาศของตน ความอบอุ่นเกิดขึ้นได้จากการยิ้มแย้มแจ่มใสหรือคำกล่าวชม ไม่แสดงอาการเบื่อหน่ายหรือหันไปสนใจคู่ลีลาศของคนอื่น และอย่าทำตนเป็นผู้กว้างขวางช่างพูดช่างคุยกับคนทั่วไปในขณะลีลาศ

6. ควรลีลาศด้วยความสนุกสนานร่าเริง

7. ไม่ควรพูดเรื่องปมด้อยของตนเองหรือของคู่ลีลาศ

8. ไม่ควรเปลี่ยนคู่บนฟลอร์ลีลาศ

9. ควรลีลาศในรูปแบบหรือลวดลายที่ง่าย ๆ ก่อน แล้วจึงเพิ่มรูปแบบหรือลวดลายที่ยากขึ้นตามความสามารถของคู่ลีลาศ เพราะจะทำให้คู่ลีลาศรู้สึกเบื่อหน่าย และไม่ควรพลิกแพลงรูปแบบการลีลาศมากเกินไปจนมองดูน่าเกลียด

10. ถือว่าเป็นการไม่สมควรที่จะร้องเพลงหรือแสดงออกอย่างอื่นในขณะลีลาศ หรือลีลาศด้วยท่าทางแผลง ๆ ด้วยความคึกคะนอง

11. ไม่ควรสอนลวดลายหรือจังหวะใหม่ ๆ บนฟลอร์ลีลาศ

12. ไม่ควรลีลาศด้วยลวดลายที่ใช้เนื้อที่มากเกินไป ในขณะที่มีคนอยู่บนฟลอร์เป็นจำนวนมาก

13. ในการลีลาศแบบสุภาพชน ไม่ควรแสดงความรักในขณะลีลาศ

14. การนำในการลีลาศเป็นหน้าที่ของสุภาพบุรุษ สุภาพสตรีไม่ควรเป็นฝ่ายนำ ยกเว้นเป็นการช่วยในความผิดพลาดของสุภาพบุรุษ เป็นครั้งคราวเท่านั้น

15. การให้กำลังใจ การให้เกียรติ และการยกย่องชมเชยด้วยใจจริง จะช่วยให้คู่ลีลาศเกิดความรู้สึกอบอุ่นและเชื่อมั่นในตนเองยิ่งขึ้น คู่ลีลาศที่ดี จะต้องช่วยปกปิดความลับหรือปัญหาที่เกิดขึ้นและมองข้ามจุดอ่อนของคู่ลีลาศ

16. ไม่ควรผละออกจากคู่ลีลาศโดยกระทันหัน หรือก่อนเพลงจบ


นางสาว ศุภวรรณ เอี่ยมสะอาด ม.6/6 เลขที่ 17

วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

นิยามคำว่า"สุขภาพ"


สุขภาพ





              ความหมายของคำว่าสุขภาพ คือ การมีสุขภาพที่ดี เป็นสิ่งที่ทุกคนต่างก็พึงปรารถนาที่จะมี ก่อนอื่นเราก็ควรจะเข้าใจในความหมายที่แท้จริงของคำว่า "สุขภาพ" กันก่อน ว่าสุขภาพนั้นมีความหมายว่าอย่างไร และคุณเข้าใจความหมายของคำว่าสุขภาพที่ถูกต้องแล้วหรือยัง ??
            สุขภาพ มีความหมาย 3 ประการ คือ 1. ความปลอดภัย (Safe)
                                                         2. ความไม่มีโรค (Sound)
                                                         3. ความปลอดภัย และไม่มีโรค (Whole)
            องค์กรอนามัยโลกได้ให้คำนิยามคำว่า สุขภาพ ในความหมายกว้างขึ้นว่า สุขภาพ หมายถึง สุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต และทางสังคม
            ตามร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 2545 ให้ความหมายของคำว่า สุขภาพ คือ ภาวะที่มีความพร้อมสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย คือ ร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง คล่องแคล่ว มีกำลัง ไม่เป็นโรค ไม่พิการ ไม่มีอุบัติเหตุอันตราย มีสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพ
            ดังนั้น "สุขภาพ" จึงหมายถึง "การมีร่างกายแข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บในทุกส่วนของร่างกาย มีสุขภาพจิตดี และสามารถปรับตัวให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างปกติสุข ผู้มีสุขภาพดีถือว่าเป็นกำไรของชีวิต เพราะทำให้ผู้เป็นเจ้าของชีวิตดำรงชีวิตอยู่อย่างเป็นสุขได้" นั่นเอง

            จะเห็นได้ว่า สุขภาพนั้น ไม่ได้มีเพียงทางกาย และทางจิตใจเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการปรับตัวเข้าสู่สังคมได้อย่างมีความสุขด้วย เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เราก็ควรจะรักษาสุขภาพของเราให้ดีอยู่เสมอ เพื่อที่เราจะได้มีจิตใจที่มีความสุข รื่นเริง ไม่ติดขัด มีเมตตา มีสติ มีสมาธิ และการที่ครอบครัวจะมีความอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง และสังคมมีความยุติธรรมได้นั้น จะต้องเกิดขึ้นจากการจัดการทางสุขภาพในระดับต่างๆทั้งสุขภาพในระดับของปัจเจกบุคคล (Individual Health) สุขภาพของครอบครัว (Family Health) อนามัยชุมชน (Community Health) และสุขภาพของสาธารณะ (Public Health) นั่นเอง


สุขบัญญัติ 10 ประการ




             สุขบัญญัติ 10 ประการ คือ ข้อกำหนดที่เด็ก และเยาวชน รวมทั้งประชาชนทั่วไป ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย เพราะผู้ที่ปฏิบัติตาม สุขบัญญัติ 10 ประการ จะเป็นคนมีสุขภาพดี ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ซึ่งจะส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรง มีสมรรถภาพในการเรียน การทำงาน และ สุขบัญญัติ 10 ประการ  ยังช่วยให้มีภูมิต้านทานโรค ไม่เจ็บป่วยง่าย ๆ ด้วย โดย สุขบัญญัติ 10 ประการ หรือ สุขบัญญัติแห่งชาตินี้ รัฐบาลได้ประกาศให้ดำเนินการและเผยแพร่ในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2539 ดังนั้นจึงได้กำหนดให้ทุกวันที่ 28 พฤษภาคม เป็น "วันสุขบัญญัติแห่งชาติ" อีกด้วย

สุขบัญญัติ 10 ประการ ประกอบไปด้วย

1.      ดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด


2.      รักษาฟันให้แข็งแรงและแปรงฟันทุกวันอย่างถูกต้อง


3.      ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารและหลังขับถ่าย


4.      กินอาหารสุก สะอาด ปราศจากสารอันตรายและหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สีฉูดฉาด


5.      งดบุหรี่ สุรา สารเสพติด การพนันและการสำส่อนทางเพศ


6.      สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น


7.      ป้องกันอุบัติเหตุด้วยการไม่ประมาท


8.      ออกกำลังกายสม่ำเสมอและตรวจสุขภาพประจำปี


9.      ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ


10. มีสำนึกต่อส่วนรวมร่วมสร้างสังคม